ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน และ สรรพคุณของเมล็ดทานตะวัน

 

ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน ลดระดับคอเลสเตอรอล

ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน มีถิ่นกำเนิดและเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา[5] โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุประมาณ 1 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 3-3.5 เมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นสีเขียวแกนแข็ง ไม่มีการแตกแขนง (ยกเว้นบางสายพันธุ์) ตามต้นมีขนยาวสีขาวค่อนข้างแข็งปกคลุมตลอด[1],[3],[8] ส่วนรากเป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดินประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็งแรงและแผ่ขยายไปทางด้านข้างได้ถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยในการค้ำจุนต้นและสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามได้ 5 คู่แล้ว 

ใบที่เกิดหลังจากนั้นจะมีลักษณะวน โดยจำนวนของใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างกลม หรือกลมเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปหัวใจ และสีของใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม (แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์) ปลายใบแหลม อ่านเรื่องน่ารู้ โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 9-25 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบหยาบและมีขนสีขาวทั้งสองด้าน มีก้านใบยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัดเพราะเป็นไม้กลางแจ้ง

สรรพคุณของทานตะวัน

  1. น้ำมันจากเมล็ดทานตะวันมีรสร้อน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4]
  2. ใบทานตะวันมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้เบาหวาน (ใบ)[2],[4]
  3. เมล็ดช่วยลดความดันโลหิต (เมล็ด)[3] หรือจะใช้แกนหรือไส้ของลำต้นทานตะวันนำมาต้มกับน้ำดื่ม (แกนต้น)[2] หรือจะใช้ใบทานตะวันสด 60 กรัม (ถ้าใบแห้งใช้ 30 กรัม) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 30 กรัม) นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (ใบ)[4] ส่วนอีกวิธีเป็นการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 10 คน ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้งประมาณ 45 กรัมนำมาบดให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร นำมาให้ผู้ป่วยกินครั้งละ 20 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง พบว่าหลังจากการศึกษาแล้ว 60 วัน ความดันโลหิตของผู้ป่วยลดลง อ่านเรื่องน่ารู้ โดยมีอาการดีขึ้น 4 คน และมีอาการดีขึ้นเล็กน้อย 4 คน ส่วนอีก 2 คน ไม่มีอาการดีขึ้นเลย (ฐานรองดอก)[4]
  4. ช่วยทำให้อวัยวะภายในร่างกายชุ่มชื้น (เมล็ด)[3]
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาลาย ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้งประมาณ 25-30 กรัมนำมาตุ๋นกับไข่ 1 ฟอง ใช้กินหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (ดอก, ฐานรองดอก, ดอกและฝัก)[2],[3],[4]
  6. เปลือกเมล็ดมีรสเฝื่อน ช่วยแก้อาการหูอื้อ ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดทานตะวันประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกเมล็ด)[2],[4]
  7. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ดอกแห้ง 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือจะใช้ฐานรองดอก 1 อันและรากเกากี้นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน (ดอก, ฐานรองดอก, ดอกและฝัก)[2],[3],[4]
  8. รากและลำต้นเป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (รากและลำต้น)[3]
  9. ใช้เป็นยาแก้หวัด แก้อาการไอ แก้ไข้หวัด หากใช้แก้อาการไอให้ใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาชงกับน้ำดื่ม(เมล็ด, น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ส่วนรากและลำต้นก็เป็นยาแก้ไอเช่นกัน (รากและลำต้น)[3]
  10. ช่วยแก้อาการร้อนใน (รากและลำต้น)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม