ผักหวานป่าสรรพคุณและประโยชน์ของผักหวานป่า

ประโยชน์ของผักหวานป่าป้องกันโรคเกี่ยวกับปราสาท และสมอง

ประโยชน์ของผักหวานป่า เป็นผักพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เนื่องจากเป็นผักที่มีรสชาติหวานอร่อย แต่หารับประทานได้ค่อนข้างยากเพราะผักชนิดนี้จะให้ผลผลิตในบางช่วงฤดูกาลเท่านั้น คือในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และส่วนใหญ่จะเก็บมาจากป่า แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกผักหวานป่าเพื่อการค้ากันมากขึ้น ทำให้ในหลาย ๆ พื้นที่มีผลผลิตออกจำหน่ายมากขึ้น โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผักหวานป่าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ยอดเหลืองและพันธุ์ยอดเขียว โดยพันธุ์ยอดเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าและเร็วกว่าพันธุ์ยอดเหลือง และลักษณะโดยรวมของทั้งสองสายพันธุ์ก็ดูจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นทรงพุ่ม กิ่ง และแขนงใบ หากไม่สังเกตดี ๆ ก็จะมองไม่ออก มีคนสงสัยกันว่า อ่านเรื่องน่ารู้ ผักหวานป่ากับผักหวานบ้านนั้นเป็นพืชชนิดเดียวกันหรือไม่ คำตอบก็คือพืชทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือเป็นพืชในตระกูลเดียวกันแม้แต่น้อย เพียงแต่มีชื่อเรียกที่พ้องกันเท่านั้น

สรรพคุณของผักหวานป่า

  1. ผักหวานป่าเป็นอาหารและยาประจำฤดูร้อนที่ช่วยแก้อาการของธาตุไฟได้ตามหลักแพทย์แผนไทย[4]
  2. ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (ใบและราก)[1]
  3. รากมีรสเย็น เป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้ (ราก)[1],[4] ส่วนยอดใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ลดความร้อน (ยอด)[4]
  4. รากเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย (ราก)[1],[4] รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนใน (ราก)[4] ส่วนยอดมีรสหวานกรอบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน (ยอด)[4]
  5. ยางใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว (ยาง)[8]
  6. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบและราก)[1]
  7. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี (ราก)[4]
  8. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้น้ำดีพิการ (ราก)[4]
  9. ช่วยแก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว (ราก)[1],[5]
  10. ใช้รักษาแผล (ใบและราก)[1]

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม