ประโยชน์ของต้นเข็มป่า และ สรรพคุณของเข็มป่า
ประโยชน์ของต้นเข็มป่า ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิทั้งปวง
ประโยชน์ของต้นเข็มป่า เข็มป่าที่กล่าวถึงบทความนี้เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นเข็มป่าที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavetta indica L. (มีชื่อท้องถิ่นอื่นว่า เข็มโคก) และต้นข้าวสารป่า ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pavetta tomentosa Roxb. ex Smith. (มีชื่อท้องถิ่นว่า เข็มป่า เข็มแพะ เข็มขาว กระดูกงูเหลือ) ซึ่งทั้ง 3 ชนิดต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน
จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง อ่านเรื่องน่ารู้ ลำต้นแตกกิ่งก้านต่ำ มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ลำต้นมีขนาดใหญ่ประมาณเท่าข้อมือ เปลือกต้นเป็นสีเทาปนสีน้ำตาล มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่วไปในประเทศไทย
สรรพคุณของเข็มป่า
- ดอกใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง อ่านเรื่องน่ารู้ ตาเปียก ตาแฉะ (ดอก)[1]
- เปลือกต้นนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาหยอดหูฆ่าแมงคาเข้าหู (เปลือกต้น)[1]
- ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก (ผล)[1]
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะในทรวงอกและในท้อง (ราก)[1]
- ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิทั้งปวง (ใบ)[1]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น