ประโยชน์ของต้นกล้วยเต่า และ สรรพคุณของกล้วยเต่า
ประโยชน์ของต้นกล้วยเต่า แก้ตัวร้อน แก้พิษไข้ ลดไข้
ประโยชน์ของต้นกล้วยเต่า ต้นกล้วยเต่า จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ส่วนกิ่งแก่จะเรียบเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ ชอบแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในเวียดนามและลาว ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยพบขึ้นในป่าดิบ ชายป่าหรือป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-350 เมตร[1],[2],[3],[4]
ดอกกล้วยเต่า ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็กตามง่ามใบ อ่านเรื่องน่ารู้ ก้านดอกสั้น ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเรียงสลับกันมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร
ด้านนอกกลีบมีขนละเอียดสีเหลืองอ่อน อ่านเรื่องน่ารู้ ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็กและมี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกลาย ๆ มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนอ่อนนุ่ม ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมากอยู่บนแกนกลางของดอก ส่วนเกสรเพศเมียมี 4 อัน อยู่ที่ปลายของแกนกลางดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม[1],[2]
สรรพคุณของกล้วยเต่า
- รากมีรสเย็น ใช้เป็นยาแก้ตัวร้อน ดับพิษไข้ทั้งปวง ดับพิษตานซาง และแก้วัณโรค (ราก)[5]
- ทางภาคอีสานจะใช้เหง้า เปลือก และเนื้อไม้กล้วยเต่า นำมาใช้เป็นยาแก้ท้องเสียในเด็ก ถ่ายกะปริบกะปรอยเป็นมูกเลือด (เหง้า, เปลือก, เนื้อไม้)[1]
- ใช้ต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ต้น, ราก)[3]
- ชาวบ้านในจังหวัดยโสธรจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ราก)[3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น