ประโยชน์ชำมะเลียง และ สรรพคุณของชำมะเลียง

ประโยชน์ชำมะเลียง ใช้เป็นยาแก้ไข้ และ แก้ร้อนใน

ประโยชน์ชำมะเลียง ออกดอกเป็นช่อแบบ Raceme ออกตามกิ่งและลำต้น ช่อดอกห้อยลง ช่อดอกยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร ดอกย่อยของแต่ละช่อจะมีทั้งดอกที่สมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ดอกเป็นสีขาวครีม ดอกเมื่อบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ที่ฐานจะเรียวเล็ก กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรีคล้ายกลีบเลี้ยงแต่จะบางกว่าและอยู่สับหว่างกลีบเลี้ยง ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน ติดอยู่ด้านหนึ่งของฐานรองดอกที่นูนขึ้น มีขนาดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

 มีก้านชูอับเรณูสั้นๆ ส่วนดอกเพศเมียมีเกสรเพศเมีย 1 ก้าน อ่านเรื่องน่ารู้ มีรังไข่ติดอยู่เหนือฐานรองดอก และมีเกสรเพศผู้ที่ไม่เจริญ 8 ก้านติดอยู่รอบๆ รังไข่ รังไข่มี 3 พู 3 ห้อง ในแต่ละห้องจะมีออวุล 1 อัน สำหรับกลีบเลี้ยงดอกนั้นจะเป็นสีม่วง มี 5 กลีบ ลักษณะกลีบเลี้ยงเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคมลูกชำมะเลียง ผลออกเป็นช่อ ๆ ในหนึ่งช่อจะมีผลเป็นพวง พวงละประมาณ 20-30 ผล

 ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม อ่านเรื่องน่ารู้ รูปไข่ หรือรูปไข่ถึงรูปรีป้อม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลสดเป็นสีเขียวอมม่วงแดง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ เนื้อผลฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ใช้รับประทาน ภายในผลมีประมาณ 1-2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ปนขอบขนาน ผิวเรียบเป็นสีดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม และผลจะแก่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

สรรพคุณของชำมะเลียง

  1. รากมีรสเบื่อจืดและขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้กินแก้ไข้เหนือ ไข้กาฬ ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้สั่น ไข้กำเดา (ราก)[1],[2],[3],[5],[6],[7]
  2. แก้เลือดกำเดาไหล (ราก)[3],[6]
  3. ช่วยแก้อาการร้อนใน (ราก)[1],[2],[6]
  4. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่าย แก้ระส่ำระสาย (ราก)[1],[2],[5],[6]
  5. ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ (ราก)[1]
  6. ช่วยแก้อาการท้องผูก แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย (ราก)[5],[6]
  7. ผลสุกหรือผลแก่ช่วยแก้ท้องเสีย คนโบราณจะใช้ผลแก่สีดำที่มีรสฝาดหวานให้เด็กรับประทานเป็นยาแก้โรคท้องเสีย (ผล)[2],[5],[6]

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม