ประโยชน์ของต้นตูมกาขาว และ สรรพคุณของต้นตูมกาขาว
ประโยชน์ของต้นตูมกาขาว ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้ตัวเย็น
ประโยชน์ของต้นตูมกาขาว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบแบบกระจุกแยกแจนง โดยจะออกบริเวณยอดหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียวถึงขาว ก้านดอกยาวไมเกิน 2.5 มิลลิเมตรส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ
ลักษณะเป็นรูปไข่แคบถึงรูปใบหอก อ่านเรื่องน่ารู้ ยาวประมาณ 1.5-2.2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนถึงเกลี้ยง ส่วนด้านในเกลี้ยง ส่วนกลีบดอกเป็นสีเขียวถึงขาว ยาวประมาณ 9.4-13.6 มิลลิเมตร โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หลอดจะยาวกว่าแฉก 3 เท่า ด้านนอกเกลี้ยง หรือมีตุ่มเล็กๆ
ด้านใน บริเวณด้านล่างของหลอดมีขนแบบขนแกะ อ่านเรื่องน่ารู้ แฉกมีตุ่มหนาแน่น หนาที่ปลายแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ไม่มีก้าน ติดกันอยู่ภายในหลอดดอก ส่วนอับเรณูเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร เกลี้ยง ปลายมนหรือมีติ่งแหลม ส่วนเกสรเพศเมียยาวประมาณ 8-13 มิลลิเมตร เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม[1]
สรรพคุณของตูมกาขาว
- ตำรายาไทยจะใช้เมล็ดแก่แห้ง (โกฐกะกลิ้ง) เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้กระษัย ช่วยขับน้ำย่อย แก้อิดโรย (เมล็ด)[1] ส่วนเนื้อไม้และเปลือกต้นก็มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหารเช่นเดียวกับเมล็ด (เปลือกต้น,เนื้อไม้)[1],[2],[4]
- ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้แก่นของต้นตูมกาขาวเข้ายากับเครือกอฮอ ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (แก่น)[1]
- เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัดมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (เมล็ด)[1]
- ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก (เมล็ด)[1] ส่วนเนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาทเช่นเดียวกับเมล็ด (เนื้อไม้)[1],[2]
- ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง (เมล็ด)[1] ส่วนเปลือกต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจเช่นกัน (เปลือกต้น)[4]
- ช่วยแก้โลหิตพิการ (เมล็ด)[1]
- ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พิษภายใน (ลำต้น)[1]
- เป็นยาแก้ไข้ ช่วยทำให้ตัวเย็น (เมล็ด)[1] ส่วนเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้พิษร้อน แก้ไข้เซื่องซึม (เนื้อไม้)[1],[2]
- รากมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)[1]
- ใช้เป็นยาแก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ (เมล็ด)[1]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น