ประโยชน์ของต้นตะคร้ำ และสรรพคุณของตะคร้ำ
ประโยชน์ของต้นตะคร้ำ ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง
ประโยชน์ของต้นตะคร้ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียนสลับเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ก้านช่อหนึ่งจะมีใบย่อยประมาณ 7-13 ใบ ออกเรียงตรงข้ามหรือทแยงกันเล็กน้อย และยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ตรงปลายก้านจะมีใบเพียงใบเดียว ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือมนเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร
ดอกตะคร้ำ ออกดอกเป็นช่อใหญ่บริเวณปลายกิ่งหรือส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 6 นิ้ว ดอกย่อยมีจำนวนมาก เป็นดอกแบบสมบูรณ์ ลักษณะของดอกเป็นรูประฆัง กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม อ่านเรื่องน่ารู้ ขนาดประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีครีม สีเหลือง สีเหลืองอ่อน หรือสีชมพู มี 5 กลีบ ออกเรียงสลับกับกลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ยาวประมาณ 2.5-3.5 มิลลิเมตร
สรรพคุณของตะคร้ำ
- ผลตะคร้ำ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร (ผล)[1],[2]
- ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดตา แก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ (ต้น)[1],[2]
- ตำรายาไทยจะใช้น้ำคั้นจากใบตะคร้ำ นำมาผสมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยารักษาโรคหืด (ใบ)[1],[2
- ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง อ่านเรื่องน่ารู้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินหรือนำมาบีบเพื่อเอาน้ำกินเป็นยา (เปลือกต้น)[1],[2]
- เปลือกต้นใช้ฝนใส่น้ำร่วมกับเปลือกต้นมะกอกและตะคร้อ ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เปลือกต้น)[4]
- เปลือกต้นใช้ต้มอาบสำหรับสตรีหลังคลอด (เปลือกต้น)[5]
- เปลือกต้นใช้ภายนอกเป็นยาทาห้ามเลือด (เปลือกต้น)[1],[2]
- เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำใช้ล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก (เปลือกต้น)[1],[2]
- ชาวเขาเผ่าอีก้อจะใช้เปลือกต้นตะคร้ำ นำมาตำพอกหรือต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้อักเสบ บวม ติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ฝีหรือตุ่ม (เปลือกต้น)[1]
- คนเมืองจะใช้เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำ ให้เด็กทารกอาบ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีผื่นหรือตุ่มขึ้น[4]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น