ประโยชน์ของต้นตะขบป่า และสรรพคุณของตะขบป่า
ประโยชน์ของต้นตะขบป่า ช่วยกล่อมเสมหะและอาจม
ประโยชน์ของต้นตะขบป่า ดอกตะขบป่า ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ โดยจะออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง มีจร ดอกย่อยมีจำนวนน้อย ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว เป็นดอกแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกมีขน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกมีประมาณ 5-6 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายมน ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ที่ขอบกลีบมีขนแน่น ส่วนด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ดอกเพศผู้ จานฐานดอกจะแยกเป็นแฉกเล็กน้อยหรือหยักมน มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก
ก้านเกสรยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร อ่านเรื่องน่ารู้ มีขนเฉพาะที่โคน ส่วนดอกเพศเมีย จานฐานดอกจะเรียบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่กลม ปลายสอบแคบ มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมีประมาณ 5-6 อัน ยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละก้านปลายจะแยกออกเป็น 2 แฉก และม้วนออก ส่วนกลีบเลี้ยงมีประมาณ 5-6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ผิวด้านในและขอบมีขนขึ้นหนาแน่น ส่วนด้านนอกเกลี้ยง[1]
- ใบแห้งนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)[1]
- ผลใช้กินเป็นยาแก้อ่อนเพลีย (ผล)[1]
- แก่นหรือรากใช้กินเป็นยาแก้ตานขโมย (แก่น, ราก)[1]
- ใช้เป็นยาแก้อหิวาตกโรค (น้ำยางจากต้น)[1]
- น้ำต้มจากใบแห้งใช้กินเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ (ใบ)[1]
- หนามมีรสฝาดขื่น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ลดความร้อน แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม)[4]
- น้ำยางจากต้นและใบสด อ่านเรื่องน่ารู้ ใช้กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้อาการไอ (น้ำยางจากต้นและใบสด)[1]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น