ประโยชน์ของต้นเล็บเหยี่ยว และ สรรพคุณของต้นเล็บเหยี่ยว
ประโยชน์ของต้นเล็บเหยี่ยว ช่วยแก้อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะ
ประโยชน์ของต้นเล็บเหยี่ยว จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง มีความยาวประมาณ 3-10 เมตร เถาและกิ่งมีหนามสั้นแหลมโค้ง เปลือกเถาเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย เป็นสีดำเทา ส่วนกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำดี และชอบแสงแดดจัด พบได้ทั่วไปตามป่า ตามเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าคืนสภาพ[2],[3] มีเขตการกระจายพันธุ์จากอนุทวีปอินเดียไปทางใต้ของประเทศจีนและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย[4]
ใบเล็บเหยี่ยว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ อ่านเรื่องน่ารู้ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร แผ่นใบอ่อนทั้งสองด้านมีขนนุ่มสั้น ๆ ผิวใบด้านบนเรียบหรือมีขนด้วยเล็กน้อย ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ใบมีเส้นใบ 3 ใบ ออกจากฐานใบไปปลายใบ และมีก้านใบยาวประมาณ 2-8 มิลลิเมตร[2]
สรรพคุณของเล็บเหยี่ยว
- ตำรายาไทย จะใช้รากและเปลือกต้นนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน (ราก,เปลือกต้น)[1],[2]
- ลำต้นเล็บเหยี่ยวตากแห้ง อ่านเรื่องน่ารู้ ใช้ผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำต้นฮ่อสะพานควาย แก่นฝาง ข้าวหลามดง จะค่าน โด่ไม่รู้ล้ม ตานเหลือง ม้ากระทืบโรง ไม้มะดูก และหัวยาข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุไว้ว่าข้าวเย็นเหนือ หรือข้าวเย็นใต้) นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง และแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)[3]
- คนเมืองจะใช้ลำต้นเล็บเหยี่ยวมาผสมกับข้าวหลามดง และปูเลย ปรุงเป็นยาช่วยทำให้มีกำลังหลังจากฟื้นไข้ (ลำต้น)[3]
- ผลมีรสเปรี้ยวหวาน ฝาดและเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ (ผล)[2] ส่วนตำรับยาแก้ไอ จะใช้รากเล็บเหยี่ยว ผสมกับรากหญ้าคา และรากหญ้าชันกาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ราก)[1]
- ช่วยขับเสมหะ (ผล)[2]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น