ประโยชน์ของแก้วมังกร และ สรรพคุณของแก้วมังกร

 

 ประโยชน์ของแก้วมังกร ป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด

ประโยชน์ของแก้วมังกร เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง นำเข้ามาในทวีปเอเชียที่ประเทศเวียดนามเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว จัดเป็นไม้ในตระกูลกระบองเพชร สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ แต่แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญจะอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และสมุทรสงคราม ซึ่งได้ผลผลิตมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นผลไม้ที่มีรูปร่างกลมรี เปลือกมีสีแดง เมื่อผ่าครึ่งจะเห็นเนื้อเป็นสีขาวหรือแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ 

มีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักฝังอยู่ทั่วผล โดยแก้วมังกรจะมีสายพันธุ์ดังนี้คือ แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดงที่จะให้รสชาติหวานนิด ๆ อมเปรี้ยวหน่อย ๆ แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลืองให้รสชาติออกหวาน และแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงที่มีรสชาติหวานกว่าพันธุ์อื่น ๆ โดยวิธีการรับประทานก็รับประทานเหมือนแตงโม อ่านเรื่องน่ารู้ นำมาผ่าครึ่งแล้วใช้ช้อนตักรับประทานได้เลยแก้วมังกรอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด

 อย่างเช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ถ้ารับประทานแก้วมังกร 1 ลูก น้ำหนัก 100 กรัม ร่างกายจะได้คาร์โบไฮเดรต 12.4 กรัม โปรตีน 1.4 กรัม ฟอสฟอรัส 32 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม พลังงาน 66 กิโลแคลอรี อ่านเรื่องน่ารู้ และใยอาหาร 2.6 กรัม และสารอื่น ๆ อีกด้วย แก้วมังกรเลยถูกจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เพราะเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพของคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามอีกด้วย

ประโยชน์ของแก้วมังกร
  1. แก้วมังกรช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น
  2. เป็นผลไม้ที่ช่วยดับร้อน ดับกระหายได้เป็นอย่างดี
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  4. แก้วมังกรลดน้ำหนักและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ช่วยในเรื่องการลดความอ้วนเนื่องจากมีแคลอรีต่ำ
  5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และริ้วรอยต่าง ๆ
  6. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  7. ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  8. มีส่วนในการช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  9. ช่วยบรรเทาอาการของโรคความดันโลหิตได้
  10. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม